สาระน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจปั้นจั่น และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

CategoriesBloggingTagged

การตรวจปั้นจั่น การทดสอบปั้นจั่นหรือการตรวจเครนเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่นและหม้อน้ำในปี พ.ศ. 2564

ปั้นจั่นหรือเครน หมายถึง เครื่องจักรที่ไว้ใช้สำหรับการยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ

การตรวจสอบ หมายถึง การตรวจสอบความเรียบร้อยของชิ้นส่วนอุปกรณ์ รวมทั้งกลไกการทำงานของเครื่องจักร ปั้นจั่น หม้อน้ำหม้อต้มที่ต้องใช้ของเหลวหรือเป็นสื่อน้ำความร้อน ภาชนะรับความดันหรือภาชนะบรรจุก๊าซทนความดัน

การทดสอบ หมายถึง การตรวจสอบทดลองและรับรองการใช้งานชิ้นส่วนอุปกรณ์หรือกลไกในการทำงานของอุปกรณ์ เพื่อให้เกิดความถูกต้องและเกิดความปลอดภัย โดยบุคคลซึ่งขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 11 แล้วแต่กรณี

ตามกฎหมายได้บัญญัติให้ต้องตรวจปั้นจั่นหรือทดสอบปั้นจั่นดังต่อไปนี้

ข้อ 57 นายจ้างจะต้องจัดให้มีการทดสอบการติดตั้งปั้นจั่นเมื่อติดตั้งเสร็จตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานตามข้อ 56 ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดและจะต้องมีการจัดทำสำเนาเอกสารการทดสอบไว้ให้พนักงานตรวจสอบความปลอดภัยได้สามารถตรวจสอบได้

หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น

กฎหมายได้กำหนดความถี่ในการตรวจปั้นจั่นหรือการตรวจสอบเครนเป็นระยะเวลาที่แน่นอนคือตัวทุกๆ 3 เดือน ทุก 6 เดือนหรือปีละครั้ง โดยพิจารณาตามประเภทและลักษณะงาน

หากเป็นปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง พิกัดการยกปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดไม่เกิน 3 ตัน ให้ทดสอบตามเวลาทุก 6 เดือน หากมากกว่า 3 ตันให้ทดสอบตามวาระทุก 3 เดือน ส่วนปั้นจั่นที่ใช้ในงานอื่นๆ พิกัดการยกปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด 1- 3 ตันให้ทดสอบตารางทุก 1 ปี แต่ถ้ามากกว่า 3 ตันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 50  ตันให้ทดสอบตามเวลาทุก 6 เดือน พิกัดการยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตมากกว่า 50 ตันให้ทดสอบตามเวลาทุก 3 เดือน

อย่างไรก็ตาม ปั้นจั่นที่ไม่มีพิกัดการยกอย่างปลอดภัยให้วิศวกรเป็นผู้กำหนดพิกัดการยกแทน ส่วนปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนหรือมีการซ่อมแซมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต้องมีการทดสอบใหม่ก่อนนำกลับมาใช้งานด้วย

น้ำหนักที่ใช้ในการทดสอบปั้นจั่นหรือเครน

ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้วให้ตรวจสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนักที่ใช้งานจริงสูงสุด ส่วนปั้นจั่นใหม่ที่ขนาดไม่เกิน 20 ตันให้ตรวจสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่าแต่ไม่เกิน 1.25 เท่า ปั้นจั่นที่มีขนาดมากกว่า 20 ตันแต่ไม่เกิน 50 ตันให้ตรวจสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตันจากพิกัดการยกอย่างปลอดภัย

ทั้งหมดนี้ ก็คือ สาระน่ารู้เกี่ยวกับการตรวจปั้นจั่นหรือการทดสอบเครนและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจปั้นจั่นไม่มากก็น้อย

About the author